วันศุกร์ที่ 24 พ.ค. 2567 หลังจากที่เราใช้เวลา 3 วันเต็มที่เมืองสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ก็ถึงเวลาเดินทางเดินทางอีกครั้งสู่ประเทศเดนมาร์ก ในวันที่ 4 นี้พวกเราตื่นตั้งแต่ตี 3.30น เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปที่สนามบิน Arlanda บินไปดูงานต่อที่ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก อีกหนึ่งประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ถึงแม้จะเช้ามาก แต่ใจใฝ่รู้เรื่องนวัตกรรมของพวกเราสู้อยู่แล้ว 😃!
ในวันที่ 4 นี้ คณะผู้เดินทาง CUTIP PhD ได้มาเยี่ยมชมภาควิชาวิทยาศาสตร์อาหารที่ University of Copenhagen - มหาวิทยาลัยเก่าแก่อันดับสองของแถบสแกนดิเนเวีย
มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน (University of Copenhagen - UCPH) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1479 เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับสองในสแกนดิเนเวียและเป็นสถาบันวิจัยสาธารณะที่มีชื่อเสียงของเดนมาร์ก มหาลัยนี้อยู่ในอันดับที่ 107 ของมหาลัยชั้นแนวหน้าของโลก (QS World University Rankings) ประจำปี 2024 เป็นศูนย์กลางของนักศึกษากว่า 37,000 คน และอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ 5,300 คน ประกอบด้วย 6 คณะ 36 ภาควิชา 122 ศูนย์วิจัย นอกจากนี้ UCPH ยังมีผู้ได้รับรางวัลโนเบลมากถึง 10 คน โดยอาจารย์ที่ได้รับรางวัลคนล่าสุดได้รางวัลโนเบลเมื่อ ค.ศ. 2022 ที่ผ่านมานี้เอง
สำหรับภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางอาหารที่ คณะดูงาน CUTIP ได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยือนนี้ ในปี 2024 ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 28 ของโลกในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร
วันนี้ทีมได้รับเกียรติจาก Prof. Morgens L Andersen, Head of the Section of Ingredients and Dairy technology และ Assoc Prof. Mahesha M. Poojary มาบรรยายเกี่ยวกับภาควิชาฯ โดยมีแผนกด้าน Food Design and consumer behavior, ด้าน Ingredients and Dairy technology, ด้าน food analytics and biotechnology, และ ด้าน food microbiology, gut health and fermentation ซึ่งทางอาจารย์จากภาควิชาฯ ยังได้พาพวกเรา เยี่ยมชมห้องแลป เครื่องมือทดสอบต่างๆ ด้านอาหาร เช่น ห้องทดลอง ทดสอบกลิ่น ห้องทดลองทดสอบ รสชาติ และห้อง Brewery ซึ่งเป็นที่ฝึก Brew Master (หลักสูตรป.โท) แห่งเดียวใน Scandinavia อีกด้วย
โดยวิสัยทัศน์ของภาควิชา คือการส่งเสริมการวิจัย การศึกษา และการเผยแพร่ความรู้ในระดับนานาชาติสูงสุดในด้านวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยี โดยมีวิสัยทัศน์ ในการสร้างความรู้ความรู้พื้นฐานสำหรับการจัดหาอาหารที่ยั่งยืนและปลอดภัย และมีประสิทธิภาพภาพ สำหรับ Research areas ของภาควิชา ได้แก่
Food quality เป็นการศึกษาและวิเคราะห์อาหารต่างๆ เช่น การย่อย คุณค่าทางอาหาร shelf life flavor release
Protein (Dairy, Meat, Plant) ทั้งการศึกษา จนไปถึงกระบวนการสัก แยก โปรตีนพืชเพื่อการสร้าง functional ingredients of food
Microbial biodiversity และ biotechnology การใช้จุลินทรีย์ จุลชีพ และเอนไซม์ เพื่อพัฒนาการหมัก ทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เพื่อลดปัญหาการสูญเสียอาหาร
โดยวันนี้ อาจารย์ Poojary ยังได้นำเสนองานวิจัยของกลุ่มในการเลี้ยงไมโครอัลจี microalgae โดยผลิตจากของเสียจากกระบวนการผลิต dairy มาเพื่อผลิตโปรตีน ซึ่งไมโครแอลจี กรดไขมัน Omega3 ที่ใกล้เคียงกับปลาทะเล รวมถึงบางชนิดยังมีสารอาหารเช่น astaxantin รวมถึงวิตามินต่างๆ ซึ่งในอนาคตไมโครแอลจีเหล่านี้ยังอาจสามารถนำพัฒนาเป็นเนื้อเทียมได้อีกด้วย ซึ่งงานวิจัยValorising food streams to obtain alga/ S processing side- added-value compounds ภายใต้แนวคิด Valorising food streams to obtain alga/ S processing side- added-value compounds มีความน่าสนใจที่เป็นงานวิจัยที่เกิดภาคอุตสาหกรรม Dairy ของเดนมาร์ก ที่ในการผลิตผลิตภัณฑ์จากนมจะมีของเหลือ รวมถึง Waste water ในกระบวนการ โดยทีมต้องการแก้ปัญหาโดยการใช้ประโยชน์ของน้ำเสียจากอุตสาหกรรมอาหารนี้มาพัฒนาให้เกิดมูลค่า และยังมีการทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด
#innovation #CUTIP #cutipphd
เผยแพร่เมื่อ วันที่ 24/05/2024