Share

445771727_940399504549912_727995783256427694_n.jpg

บ่ายวันอาทิตย์ ที่ 26 พ.ค. 2567

และแล้วการดูงานด้านนวัตกรรมของเรา ก็เดินทางมาถึงที่สุดท้ายที่ DTU - CERE: ศูนย์วิจัยแนวหน้าด้านวิศวกรรมทรัพยากรและพลังงาน มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดนมาร์ก (Technical University of Denmark - DTU) เป็นมหาลัยเทคนิค (Technical university) อันดับ 1 ของ สหภาพยุโรป ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับที่สหรัฐอเมริกาแล้ว DTU ก็เปรียบเสมือน MIT ของ European Union และอยู่ในอันดับที่ 121 จาก QS World University Rankings ประจำปี 2024 (จุฬาลงกรณ์ของเรา อยู่ที่อันดับ 211 ของโลก)

444216611_940399471216582_8676413184625521924_n.jpg

มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงด้านการวิจัย การศึกษา และการบริการสาธารณะระดับโลก ด้วยทีมวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญกว่า 6,000 คน และนักศึกษาประมาณ 13,400 คน DTU ร่วมมือกับทั่วโลกเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายทางเทคโนโลยีในอนาคต

ซึ่งวันนี้คณะจากหลักสูตร CUTIP ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชม The Center for Energy Resources Engineering (CERE) ซึ่งเป็นศูนย์สหวิชา (interdisciplinary) ดำเนินการภายใต้ DTU มีความเชี่ยวชาญด้านทรัพยากรพลังงาน รวมถึงวิศวกรรมปิโตรเลียม Carbon Capture, Utilisation and Storage หรือ CCUS (การดักจับ การใช้ประโยชน์ และการจัดเก็บ CO2), พลังงานความร้อนใต้พิภพ เชื้อเพลิงชีวภาพ และอื่นๆ ศูนย์นี้ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยและช่วยถ่ายทอดเทคโนโลยีและการร่วมมือกับบริษัท ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี โดยผสมผสานความเชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาวิชา

444205052_940399604549902_6454684673594652468_n.jpg

โดยคณะของเรา ได้รับโอกาสจาก Prof. John Bagterp Jorgensen อาจารย์ประจำภาควิชา Applied Mathematics and Computer Science มาบรรยายงานวิจัย Mathematical Modeling & High-Performance Scientific Computing for Control and Optimization of Dynamical Systems อาทิ การใช้ โมเดลทางคณิตศาสตร์ ในเชิงแก้ปัญหาสังคมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหาที่ซับซ้อน เป็น dynamic system ซึ่งมีตัวแปรมากมาย หากสามารถนำมาแปรเป็นสมการ และใช้ข้อมูลในการเรียนรู้ input > process > output เพื่อให้เอามาเรียนรู้ซ้ำ สร้างสถานการณ์จำลอง จนรู้ว่าแต่ละปัญหามีโมเดลอะไรบ้าง เช่น การออกแบบโปรแกรมติดตามโควิด-19 การใช้ข้อมูลเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยการดูข้อมูล simulation จาก Glucagon and insulin effects โดยจำลองข้อมูลคนไข้ขึ้นมา 1,000,000 คน และให้ข้อมูลเหล่านั้นใช้ชีิวิตไปอีก 10 ปี โดยแต่ละวันที่ใช้ชีวิตถือว่าเป็น 1 นาทีในการจำลองสถานการณ์ ซึ่งทำให้ทีมงานได้รู้จักสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างครอบคลุม ทั้งที่คาดหวังว่าจะเกิด และทั้งที่คาดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้นได้

445107201_940397491216780_6692142940397237159_n.jpg

Professor John คนนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอาจารย์ในรั้วมหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว ก่อนที่เขาจะเริ่มต้นมาเป็น Professor John ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมเคมี และมีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตคอนกรีตซีเมนต์ อาจารย์มีแนวคิดในการผลิตคอนกรีตที่มีประสิทธิภาพ และต้องการจะจัดตั้งบริษัท ซึ่งสุดท้ายอาจารย์ก็ใช้เวลากว่า 5 ปี หาทางตั้งบริษัทในประเทศอินเดีย (มีการผลิตคอนกรีตใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน) อาจารย์ถูกปฏิเสธอย่างมากมายช่วงเริ่มต้น แต่สุดท้าย ก็จัดตั้งบริษัท และดำเนินการได้สำเร็จ ตอนนี้มีพนักงานในบริษัทอาจารย์อยู่ที่ เมือง Chennai ประเทศ India กว่า 300 คน

445746258_940399451216584_3162325251816100418_n.jpg

นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาปริญญาเอก คุณ Tobias Overgaard มาเล่างานวิจัยที่ทำร่วมกับบริษัทยาขนาดใหญ่ใน Denmark อย่าง Novo nordisk เพื่อที่จะ "Use data to discover unknown unknown and resolve known unknown." เพื่อใช้ข้อมูลในการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตภายในของบริษัท โดยใช้ model DIKA (Data > Information > Knowledge> Action) โดยการสร้างสมการของแต่ละเครื่องความเชื่อมโยงเพื่อหาปัญหาในการผลิต จนถึงการจัดการ ซึ่งคุณ Tobias เป็นนักศึกษา Industrial Ph.D. ซึ่งต้องบุคคลที่เรียนดีมากในระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ทางบริษัทฯจะให้นักศึกษาปริญญาเอกดังกล่าว ทำงาน 50% ที่บริษัท และเรียน 50% ซึ่ง Industrial Ph.D. นี้เป็นความร่วมมือระหว่าง ภาครัฐ (ให้ทุน) ภาคเอกชน (ให้โจทย์และให้ข้อมูลในการทำวิจัย) และภาคมหาวิทยาลัย (ดูแลและควบคุมงานวิจัย) เพื่อส่งเสริมการสร้างคนด้านนวัตกรรมของเขา

445180206_940397367883459_3895138296864660406_n.jpg

เหมือนการฟังสัมมนาครั้งนี้จะจบแล้ว แต่ยังไม่จบ Professor John จัดเต็มให้พวกเรา ยังเชิญ คุณ Marcus นักศึกษาปริญญาเอกอีก คนหนึ่ง มาแชร์ประสบการณ์สิ่งที่เขากำลังศึกษาอยู่ โดยคุณ Marcus ใช้ข้อมูล Data ในการแก้ปัญหาเหมือนกับคุณ Tobias โดยเรื่องที่เขาสนใจคือ การคำนวณการทำงานของกระบวนการ chromatography เพื่อที่จะควบคุมผลการทำงานของเครื่องจักรเพื่อให้ได้ผล yield สูงที่สุด ซึ่งก็สามารถเพิ่มจาก ปกติที่ทำด้วยมืออยู่ที่ 88% แต่ถ้าใช้โมเดลในการแก้ปัญหาได้ yield มากถึง 90+%

การเข้าชมครั้งนี้ รับข้อมูลเชิง Deeptech ไปแบบเต็มๆ หลักสูตร CUTIP ขอขอบคุณ Professor John คุณ Tobias และ คุณ Marcus เป็นอย่างมาก ที่สละเวลาช่วงบ่ายวันอาทิตย์ มาต้อนรับและให้ข้อมูลอย่างเต็มที่กับทางคณะเรา เราหวังว่า ทั้ง 3 ท่านจะประสบความสำเร็จยิ่งๆขึ้นในงานที่ทำ และทาง CUTIP จะมีโอกาสในอนาคต ที่จะได้ร่วมงานไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เอาผลงานด้านวิทยาศาสตร์เหล่านี้กลับมาพัฒนาประเทศไทย ให้ดีขึ้นต่อไป

444236454_940397247883471_5991947698940231391_n.jpg

444227886_940399454549917_355543911767859098_n.jpg

444165949_940397461216783_4650365739626231663_n.jpg

443928744_940397544550108_50961953656968326_n.jpg
444192222_940397444550118_2575690605409223263_n.jpg

444214711_940399637883232_742305767810387138_n.jpg

444166720_940399597883236_7465834482181594722_n.jpg

444178250_940397254550137_7642738113927768990_n.jpg

#CUTIP #cutipphd15 #InnovationThailand #innovation

เผยแพร่เมื่อ วันที่ 26/05/2024