เช้าวันอาทิตย์ที่ 26 พ.ค. 2567 ที่หมายแรกของการเยี่ยมชม คือ Copenhill หรือ Amager Bakke ซึ่งห่างจากโรงแรมที่พักเพียง 7 กิโลเมตร Copenhill เป็นโรงงานที่เปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานความร้อนและไฟฟ้า ออกแบบโดย Bjarke Ingels Group (BIG) มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความเป็นนวัตกรรม ซึ่งผสมผสานความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมกับประโยชน์ด้านสันทนาการและสังคม
โรงงานเปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน: รัฐบาลของเดนมาร์ก ออกกฎหมายในปี ค.ศ. 2009 ให้ประชาชนแยกขยะ และจำแนกขยะต่างๆ ออกเป็น 12 ชนิด: paper, cardboard, soft plastics, glass, metal, rigid plastics, food waste, residual waste, textiles, hazardous waste, small electronics and batteries – สามารถอ่านข้อมูลได้ว่า ขยะแบบไหน ถือว่าเข้าข่ายอยู่จำแนกอะไร ได้ที่ ลิ้งค์นี้ ที่โคเปนฮิลล์แห่งนี้ มีหน้าที่จัดการขยะประเภท Residual waste (กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ ผ้าอ้อมเด็ก/ผู้ใหญ่ ถาดพิซซ่า ก้นบุหรี่ ทรายขี้แมว ฝุ่นจากการกวาดบ้าน ถุงเก็บฝุ่นจากเครื่องดูดฝุ่น เป็นต้น) โดย โคเปนฮิลล์สามารถ แปรรูปของเสีย 450,000 ตันต่อปีเพื่อผลิตไฟฟ้าและระบบทำความร้อนภายในอาคาร สำหรับชาวเมือง 150,000 ครัวเรือน ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่แปลงของเสียให้เป็นพลังงานสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย
เกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ: โรงงานนี้มีประสิทธิภาพในการแปรรูปขยะอย่างมาก ในขณะที่เมืองโคเป็นเฮเก็น พยายามลดขยะลงให้น้อยที่สุด แต่ถ้าขยะน้อย ก็ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าให้ประชาชนได้ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รัฐบาลของเมืองสามารถเจรจากับรัฐบาลอิตาลี จนสามารถ import ขยะจากอิตาลี มาที่เดนมาร์กได้ โดยประเทศอิตาลี ยินดีจ่ายเงิน ขนส่งขยะ และจ่ายค่าบริหารจัดการขยะนี้ ให้กับเมืองโคเป็นเฮเก็น
สิ่งอำนวยความสะดวกด้านสันทนาการ: ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของโคเปนฮิลล์คือลานสกีเทียมบนหลังคาขนาด 10,000 ตร.ม. ซึ่งเล่นสกีและสโนว์บอร์ดได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังมีหน้าผาจำลองที่สูง 85 เมตร ซึ่งสูงที่สุดในโลก มีเส้นทางเดินป่า และสวนบนชั้นดาดฟ้าที่มีภูมิทัศน์สวยงาม พร้อมทิวทัศน์อันตระการตาของกรุงโคเปนเฮเกน
ความยั่งยืนและนวัตกรรม: Copenhill ถูกออกแบบให้เป็นโรงงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ เช่น สวนบนหลังคาที่มีระบบเก็บน้ำฝน โดยมุ่งหมายเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการจัดการขยะและการผลิตพลังงาน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการใช้ชีวิตในเมืองอย่างยั่งยืน
การออกแบบทางสถาปัตยกรรม: การออกแบบที่ทันสมัยและล้ำสมัยของอาคารที่ให้ทั้งประโยชน์ใช้สอยและรูปลักษณ์ที่โดดเด่น สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของในการสร้างสถาปัตยกรรมที่ทั้งสวยงาม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
#cutipphd #CUTIP #innovations #InnovationThailand
เผยแพร่เมื่อ วันที่ 26/06/2024